วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ยุคธุรกิจเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ 8 อุปสรรคในการขายสินค้าออนไลน์ และ เทคนิคการแก้ไขปัญหา

1. หน้าเว็บไม่อัปเดต หรือไม่มีเวลาอัปเดตสินค้า

ปกติการจัดสต็อคหน้าร้าน เมื่อสินค้าหมดอาจจะทำง่าย ๆ เพียงแค่วิ่งไปหยิบของมาเติมก็จบแล้ว แต่การขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ย่อมต้องมีการอัปเดตแบบเรียลไทม์ เช่น หากคุณขายเสื้อผ้าแฟชั่น ต้องมีการเช็คสต็อคในทุกแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเข้ามาช้อปสินค้า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Line OA หรือแม้แต่เว็บไซต์ การจัดการทางแพลตฟอร์มอื่น ๆ อาจมีคนคอยจัดการให้ได้ แต่หน้าเว็บไซต์หากไม่มีการอัปเดต เมื่อลูกค้าคลิกสั่งซื้ออาจทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนต่อไปได้ และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มเว็บไซต์เมื่อลูกค้าไม่ได้ติดต่อกับมนุษย์โดยตรง ทำให้มีโอกาสออกจากหน้าเว็บไปเลย

วิธีแก้ไข : เลือกใช้แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ที่มีการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น หากคุณเพิ่มจำนวนสต็อคสินค้าเรียบร้อย จำนวนก็จะลดลงตามยอดการสั่งซื้อ ลูกค้าจะทราบได้ทันทีหากสินค้าหมดคลัง

R-Shop ร้านค้าออนไลน์ E-Commerce เว็บไซต์ Stock สินค้า

(ตัวอย่างการตั้งค่าการแสดงสต็อคสินค้าจากแพลตฟอร์ม R-Shop)

2. โปรโมชั่นของคู่แข่งน่าสนใจกว่า

( ฟีเจอร์ Promotion Popup ของ R-Widget )

ช่วงเทศกาลพิเศษทีไร คู่แข่งที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันหรือทำธุรกิจบริการคล้าย ๆ กัน จะต้องได้ซีนไปทุกทีด้วยข้อเสนอที่ดึงดูดใจ ไม่ว่าจะเป็นลดราคาตัดหน้าที่แรงกว่า ซึ่งทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออย่างไม่ลังเล หรือเคยเจอไหมที่ลูกค้ามีการแจ้งให้ทราบด้วยว่า ทำไมไม่จัดโปรโมชั่นแรงกว่านี้ คู่แข่งลดเยอะกว่ามาก แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจทำให้ไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ

วิธีแก้ไข : เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยเผลอใจ อดไม่ได้ที่จะปรับลดราคาลงตามคู่แข่งไปด้วย ทั้งที่ต้นทุนสินค้าของเราอาจมีมูลค่ามากกว่า แต่ Readyplanet ไม่แนะนำ ก่อนอื่นต้องสำรวจสินค้าหรือบริการของเราก่อน พูดง่าย ๆ คือหากคุณรู้สึกว่าแบรนด์ของคุณมีจุดเด่นหรือสินค้ามีความแตกต่าง ในแง่ของวัสดุ คุณภาพ สิ่งนี้เองที่จะเป็นการสร้างจุดเด่นและความแตกต่าง เช่น หากกระเป๋าบางรุ่นของคู่แข่งลดราคา 30% แต่จากการที่คุณได้สำรวจตลาด กระเป๋าร้านนี้อาจมีอายุการใช้งานไม่ถึง 1 ปี เทียบกับกระเป๋าของร้านคุณแล้วใช้งานได้มากถึง 3 ปี แต่อาจมีการลดราคาได้เต็มที่ 10% ตรงนี้ควรนำมาเป็นจุดขายเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจว่า แบรนด์ไหนที่จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ดังนั้นยึดมั่นในจุดยืนและอย่าลืมฟังเสียงของผู้บริโภคด้วย

3. ขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์สถิติและเก็บ Insights

การทำธุรกิจแบบไม่มีจุดหมายและขาดการวิเคราะห์ ก็เปรียบเหมือนกับการแล่นเรือไหลตามกระแสน้ำไปเรื่อย ๆ ไม่ได้มีการวางแผนหรือกำหนดทิศทางลม ไม่รู้ว่าปลายทางคืออะไร ดังนั้นการทำธุรกิจออนไลน์หรือแม้กระทั่งออฟไลน์เองก็ตาม ผู้ประกอบการบางท่านมักลืมการวิเคราะห์ตลาดของธุรกิจหรือบริการไป เพราะบางครั้งเข้าใจหลักการแต่ขาดเครื่องมือที่จะช่วยรวบรวมข้อมูล หรือต้องโฟกัสอยู่กับการจัดการซื้อขาย ทำให้ไม่มีเวลาสนใจวิเคราะห์ตลาด ผลลัพธ์การขายหรือแม้กระทั่งคู่แข่งเอง

วิธีแก้ไข : ลองมองหาเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาและช่วยคาดการณ์ (Forecast) ยอดขายเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ช่วยแสดงผลลัพธ์ Sales Pipeline Report จำนวนยอดขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเดือนนั้น ๆ เป็นต้น ในส่วนนี้ R-Insights ของ Readyplanet สามารถแสดงผลออกมาได้หากคุณทำการซื้อขายบนเว็บไซต์ การวิเคราะห์ตลาดจะไม่ใช่เร่องยากอีกต่อไป

 

4. ไม่เข้าใจลูกค้า เลือกใช้โฆษณาไม่ตรงกลุ่ม

การทำโฆษณาออนไลน์ย่อมควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์ มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่มักเลือกการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยโฆษณาอย่าง Facebook, Google Ads เพื่อช่วยให้เกิด Conversion ใด ๆ ก็ตามและนำไปสู่การสั่งซื้อในที่สุด ซึ่งบางครั้งการทำโฆษณาไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ลูกค้าและไม่เข้าใจอย่างแท้จริง ทำให้เลือกใช้โฆษณาคนละประเภทหรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ใช่ เช่น ธุรกิจของคุณขายอุปกรณ์เบเกอรี่และต้องการให้ลูกค้าเป็นร้านค้าที่มีกำลังซื้อ กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นการทำการตลาดออนไลน์ลักษณะ B2B แต่เลือกทำโฆษณาผ่าน Facebook และเลือกความสนใจแฟชั่น เป็นต้น ทำให้ไม่ได้กลุ่มคนที่ต้องการมาซื้อสินค้า และคนที่ใช่ก็ไม่มีโอกาสได้รู้จักร้านค้าของคุณเช่นกัน

วิธีแก้ไข : เลือกใช้โฆษณาให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการศึกษาพฤติกรรมลูกค้าและความเหมาะสมในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น หากทำอุปกรณ์เบเกอรี่ การพาลูกค้าคลิกไปยังเว็บไซต์เพื่อดูสินค้าแต่ละ Category ดูจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด จึงเลือกทำโฆษณาผ่านหน้าเพจ Facebook แบบ Conversion เลือกปลายทางเป็นเว็บไซต์ เป็นต้น หรือหากคุณยังไม่แน่ใจว่าธุรกิจนั้นเลือกทำโฆษณาได้ถูกต้องหรือไม่ เราแนะนำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมตรงตามจุดประสงค์จะดีที่สุด

5. ตอบแชทไม่ทัน ลูกค้าไม่รอ

เทคนิคตอบแชท live chat

ปัญหาใหญ่ที่หลาย ๆ ธุรกิจมักจะเจอ หลังจากทำโฆษณาและนำกลุ่มเป้าหมายมายังแพลตฟอร์มบวกกับสินค้าหรือบริการของคุณน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากจนหลังบ้านไม่สามารถจัดการหรือตอบคำถามได้ทันท่วงที ปัญหาที่ตามมาคือลูกค้าไม่รอและพร้อมช้อปและโอนเงินทันทีให้กับคู่แข่งของเราที่ตอบคำถาม เช็กสต็อค แจ้งราคาได้รวดเร็วกว่า

วิธีแก้ไข : หากธุรกิจของคุณมีการขายบนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Facebook หรือ Line เราแนะนำให้ตั้ง Greeting Message หรือข้อความอัตโนมัติ (ข้อความต้อนรับ) ที่จะช่วยรับหน้ากับลูกค้าเบื้องต้น และแจ้งว่าทางร้านจะรีบตอบกลับให้ไวที่สุด สามารถแจ้งเรื่องที่ต้องการสอบถามได้เลย หรืออีกวิธีที่จะช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้นคือการทำ Saved Replies (ใน Facebook Messanger) คือการรวบรวม FAQ หรือคำถามยอดนิยมที่พบบ่อย เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้าสอบถามก็เลือกส่งคำตอบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มรูปภาพได้ในคำตอบด้วย

6. ไม่มีข้อมูลลูกค้าเก่า จัดเก็บไม่เป็นระบบ

R-Shop Order Management

ข้อมูลลูกค้าหรือพฤติกรรมลูกค้าถือว่าสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่สามารถนำไปต่อยอดการตลาดออนไลน์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Customer Loyalty ด้วยการทำแคมเปญหาลูกค้าคนพิเศษแบบส่วนตัว เช่น การส่ง SMS แจ้งโปรโมชั่นให้ลูกค้า การทำโฆษณาแบบ Personalization จากพฤติกรรมการช้อป แต่ปัญหาคือระบบใด ๆ ที่ใช้อยู่ไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าหรือคุณไม่ได้เก็บข้อมูลไว้เลย 

วิธีแก้ไข : ควรสร้างข้อมูลลูกค้าเก็บไว้ เช่น การจัดทำ Order Management หรือสร้างไฟล์ข้อมูลลูกค้า จะช่วยบอกได้ว่าลูกค้าคนนี้กลับมาซื้อซ้ำบ่อยแค่ไหน หรือมีพฤติกรรมการช้อปแบบใด และมีแนวโน้มจะช้อปสินค้าใดต่อไป อีกวิธีที่ง่ายขึ้นคือเลือกใช้เครื่องมือสำเร็จรูปที่เก็บข้อมูลและช่วยประหยัดเวลา สามารถจัดการข้อมูลลูกค้าแบบไม่ต้องสร้างไฟล์ Excel ให้ยุ่งยาก เป็นต้น

7. ไม่มีระบบติดตามการสั่งซื้อ

R-Shop Order Management Readyplanet

เคยไหม หลังจากลูกค้าทำการซื้อสินค้ากับคุณผ่านหน้าเว็บไซต์หรือแพตลฟอร์มใดก็ตาม จะมีคำถามว่า ส่งสินค้าหรือยัง ? จะได้รับประมาณวันไหน ? หรือมีเลขพัสดุให้ตรวจสอบรึยังคะ ? พร้อมคำถามอีกมากมายที่ลูกค้าต้องการตรวจสอบและติดตามพัสดุ ซึ่งหากธุรกิจของคุณขาดส่วนนี้ไปย่อมเหมือนลดความน่าเชื่อถือและสร้างความกังวลใจให้กับลูกค้า ส่งผลไปยังการตัดสินใจซื้อครั้งต่อไปเป็นอย่างมาก

วิธีแก้ไข : ร้านค้าออนไลน์หรือธุรกิจของคุณควรมี ระบบ Order Tracking หรือระบบติดตามสถานะสินค้า เพราะถ้าหากร้านค้าของคุณมียอดขายที่ดีและลูกค้าสอบถามจำนวนมากในแต่ละวัน ย่อมไม่มีแน่หากต้องมานั่งไล่เช็กและตอบคำถามทีละคน ดังนั้นการมีเว็บไซต์เป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าหรือบริการ พร้อมระบบติดตามสถานะที่สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่การชำระเงิน ไปถึงการจัดส่งสินค้า จะช่วยให้ลูกค้าตรวจสอบสถานะพัสดุได้เอง ทำให้ประหยัดเวลาในการจัดการไปได้มากเลยทีเดียว แถมลูกค้ายังอุ่นใจกับการช้อปและสร้างความเชื่อมั่นได้ดีอีกด้วย

8. ขาดการสร้าง Brand Loyalty

หากคุณเคยปวดหัวและไม่เข้าใจกับพฤติกรรมลูกค้า ที่อาจเคยเข้ามาดูหน้าเว็บไซต์สินค้าของคุณ ทำการซื้อสินค้า แต่ถึงเวลาโอกาส Return กลับมาของลูกค้ากลุ่มเดิม พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ทีน้อยมาก ทั้งที่เรามั่นใจว่าสินค้าหรือบริการของเรานั้นได้คุณภาพและคุ้มค่ากับราคาที่ลูกค้าจ่ายไปแน่นอน หากพบปัญหานี้แปลว่า ธุรกิจของคุณยังขาดการสร้าง Brand Loyalty อย่างแน่นอน การไม่กลับมาซื้อซ้ำเป็นอุปสรรคในการเพิ่มยอดขายเลยทีเดียว ข้อนี้จะแก้อย่างไร?

วิธีแก้ไข : อันดับแรกควรสร้างสิ่งที่ดึงดูดใจที่จะช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าต่อในระยะยาว ถึงแม้ว่าการมาช้อปสินค้าหน้าเว็บเพราะลูกค้าชื่นชอบสินค้าและคุณภาพ แต่ระหว่างนั้นควรตั้งคำถามก่อนว่า ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกช้อปรึเปล่า (Customer Experience) เช่น การคลิกหน้าเว็บไซต์ หรือเพิ่มสินค้าลงตะกร้า หากระบบพอใช้งานได้แต่มีความยุ่งยากในตอนท้าย หรือที่สุดแล้วระบบไม่มีการแจ้งให้ติดตามสถานะพัสดุ ลองคิดในมุมกลับกันว่า หากคุณเป็นลูกค้าจะอยากกลับมาใช้ซ้ำหรือไม่ ? ดังนั้นการมีแพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ออนไลน์ที่ดีและใช้งานราบรื่นจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ลูกค้าคลิกเลือกสินค้า นำไปสู่การจ่ายเงินและติดตามโดยไม่เกิดปัญหา หรืออีกวิธีคือการทำโปรโมชั่นดึงดูดใจ เช่น ระบบสะสมแต้มด้วยเบอร์โทร ช่วยดึงให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ ๆ เพื่อรับสิทธิ์พิเศษหรือแลกของรางวัลที่น่าดึงดูดใจนั่นเอง

เทคนิคการแก้ไขปัญหาที่พบจากการขายของออนไลน์เหล่านี้ คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการให้นำไปพิจารณาและหาทางออก ปรับกลยุทธ์กันใหม่เพื่อให้ธุรกิจของคุณ Go Online ต่อได้อย่างราบรื่นไม่สะดุด อย่าลืมว่านอกจากเราจะต้องสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ มีสินค้าหรือบริการที่แข็งแรงแล้ว การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและพาลูกค้ามายังร้านค้าออนไลน์ของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน 

จะเห็นได้ว่าทั้งหมดทั้งมวลก็เปรียบเหมือนการทำการตลาดแบบรอบด้านที่ครบครัน โดยเฉพาะหากเป็นเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์แล้ว แพลตฟอร์มการขายออนไลน์จึงควรเป็นหน้าร้านที่พร้อมเปิด 24 ชั่วโมง อย่าง R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่มาพร้อมเครื่องมือการตลาดแบบ All-in-One ทำเว็บไซต์ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ ออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง สามารถเชื่อมต่อกับระบบสะสมแต้ม PointSpot, Order Management, R-Widget ปุ่มติดต่ออัจฉริยะสำหรับเว็บยุคใหม่, R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย, Chatday และอีกมากมาย ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจสามารถรองรับลูกค้าได้ทันทีตั้งแต่วันแรกที่เริ่มออนไลน์

   ยุคนี้หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น จริงอยู่ที่ว่าทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น เช่น สามารถติดต่อหรือทำการซื้อขายได้อย่างสะดวกสบาย หรือประหยัดเวลาในการเดินทาง ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียพลังงานไปกับการจัดการหน้าร้านให้วุ่นวายเหมือนเมื่อก่อน แต่ถึงอย่างนั้น การซื้อขายออนไลน์ที่มักมีลูกค้าเข้ามาแวะเวียนไม่ซ้ำกันในแต่ละวันย่อมต้องเจอกับอุปสรรคหรือต้องรับมือกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะจากบุคคลหรือด้วยระบบของการทำ Online Marketing เองก็ตาม Readyplanet เชื่อว่าหลายคนย่อมต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาเหล่านี้ จึงรวบรวมอุปสรรคของการขายสินค้าออนไลน์พร้อมเทคนิคในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปปรับใช้ได้กับแต่ละธุรกิจ

Credit.. https://blog.readyplanet.com/17721577/8-ecommerce-problems-and-solutions

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Facebook, Instagram, TikTok, X, YouTube หรือ LINE ช่องทางโซเชียลมีเดีย จข้อดีและข้อเสียของการใช้ Social Media ปัจจุบันพื้นฐานใช้งานสื่อออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok, X, YouTube หรือ LINE ช่องทางโซเชียลมีเดียเหล่านี้กลายเป็น “พื้นที่” ในการติดต่อสื่อสาร เข้าถึงข้อมูล ไปจนถึงการประกอบอาชีพ และยิ่งเราใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียได้มากเท่าไร เราก็ยิ่งเข้าถึงโอกาสในโลกยุคใหม่ได้มากขึ้นเท่านั้น วันนี้เราเลยอยากพากทุกคนมาสำรวจข้อดีและข้อเสียของการใช้ Social Media ในปัจจุบันซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เราใช้งานสื่อออนไลน์ได้ชำนาญมากขึ้น

ตัวอย่าง 7 ข้อดีของการใช้ Social Media

1. ใช้ Social Media ในการศึกษาหาความรู้

ข้อดีของโซเชียล คือ Social Media เป็นพื้นที่แห่งข้อมูลข่าวสาร และสื่อการเรียนรู้ที่อัพเดทแทบจะตลอดเวลา ทั้งจากองค์กรสื่อ สำนักข่าว นักวิชาการ และกูรูอิสระ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการอัพสกิล หรือเพิ่มความรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2. ใช้ Social Media ช่วยสร้างโปรไฟล์บนโลกออนไลน์

การมีโปรไฟล์ที่ดีบนโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ จะช่วยสร้างภาพจำในแง่บวกให้กับคนรู้จัก รวมถึงคนอื่น ๆ ที่อาจจะกลายเป็น Connection คนสำคัญของเรา ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิต ยิ่งเราสร้างโปรไฟล์ที่ดีไว้แต่เนิ่น ๆ ก็ยิ่งช่วยเป็นต้นทุนให้เราไปต่อได้ในระยะยาว

3. ใช้ Social Media ในการหางาน

ตอนนี้หลายบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศ เริ่มรับสมัครพนักงานผ่านโซเชียลมีเดียกันแล้ว แพลตฟอร์มสุดฮิตก็คงหนีไม่พ้น LinkedIn ที่ช่วยให้บริษัทสามารถ Connect กับคนที่กำลังมองหางานได้โดยตรง อีกช่องทางที่มาแรงก็คือ Facebook Page และ Facebook Group ที่รวมกลุ่มคนที่กำลังมองหางาน หรือกลุ่มคนที่ทำสายอาชีพเดียวกัน มาแนะนำงานต่อกันเป็นทอด

4. ใช้ ​Social Media ในการทำธุรกิจ และทำการตลาด

Social Commerce หรือการขายของผ่านโซเชียลมีเดียเป็นที่นิยมมากในไทย เพราะทั้งสะดวกสบาย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตั้งร้าน แถมยังช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถติดต่อผ่านแชทได้โดยตรง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือเคลมสินค้าก็ทำได้ง่าย โดยแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในการทำ Social Commerce และการตลาด ได้แก่ Facebook, Instagram, LINE และ TikTok

5. ใช้ Social Media ในการทำงาน

Social media ช่วยให้พนักงานสามารถพูดคุยติดต่อ ประชุม และส่งงานได้อย่างง่ายดาย รองรับนโยบาย Work from home หรือการทำงานแบบ Hybrid ของหลายบริษัทในขณะนี้ ช่วยลดเวลา และปัญหาจากการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

6. ใช้ Social Media ในการประชาสัมพันธ์

โซเชียลมีเดียสามารถใช้สื่อสารกับคนจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันจำกัด หลายคนจึงอาศัยช่องทางเหล่านี้ในการประชาสัมพันธ์ โปรโมตสินค้า งาน PR และอีเวนต์ต่าง ๆ อีกทั้งการทำโฆษณาบนแพลตฟอร์มโซเชียลก็มีราคาที่ถูก และยืดหยุ่นกว่าการโฆษณาแบบอื่นอีกด้วย

7. ใช้ Social Media ในการสร้าง Content

Content บนโซเชียลมีเดียจะมีความสนุกสนาน และสร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าช่องทางอื่น ๆ หลายคนสามมารถเพิ่มยอดผู้ติดตามจาก content ที่ทำ จนกลายเป็น Influencer, Content Creator หรือ TikToker ที่ได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์ต่าง ๆ ได้ โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ TikTok, Facebook, และ Instagram


ตัวอย่าง 7 ข้อเสียของการใช้ Social Media

ข้อดีและข้อเสียของ social media

1. Social Media ทำให้เราลดการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

หากเรามัวแต่ก้มหน้าเล่นมือถือ เราอาจเสียความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว ยิ่งเห็นเราไม่สนใจ หลายคนก็อาจเลือกที่จะเลิกชวนเราพบปะ หรือไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจริงไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นการเล่นโซเชียลมีเดียควรมาพร้อมขอบข่ายเวลาที่เหมาะสม

2. Social Media ทำให้เราขาดความมั่นใจ

ในโลกของสังคมออนไลน์ ทุกคนล้วนแสดงให้เห็นแต่ด้านดีของตัวเอง ซึ่งเรามักจะเผลอเก็บมาเปรียบเทียบกับตัวเอง เราจึงควรระลึกไว้เสมอว่าสิ่งที่เราเห็นใซเชียลมีเดียนั้นไม่ใช่ความจริงทั้งหมด และความสำเร็จของคนอื่นไม่ได้เป็นสิ่งที่ตัดสินความสำเร็จในชีวิตของเรา

3. Social Media ทำให้เราเป็นคนชอบตัดสินคนอื่น

เพราะในโลกสังคมออนไลน์ เราไม่ได้รู้จักกับผู้คนอย่างสนิทใจ หลายคนเป็นคนที่ไม่ได้มีความสำคัญกับเรานัก เราจึงมีความกล้าในการวิจารณ์พวกเขาอย่างรุนแรงมากกว่าคนที่รู้จักและพบเจอกันในชีวิตจริง เราจึงควรไตร่ตรองให้ดีก่อนโพสต์อะไรลงไปทุกครั้ง

4. Social Media ทำให้เราสุขภาพแย่ลง

ทั้งสุขภาพจิตจากการเห็นคำวิจารณ์หรือความเห็นแย่ๆ และสุขภาพกายที่เกิดจาการจ้องจอเป็นเวลานาน รวมถึงอาการคอบ่าไหล่จากการก้มหน้าดูมือถือ เราจึงควรเลือกเสพ Content ที่สร้างสรรค์ และหยุดเล่นโซเชียลมีเดียระหว่างวันเพื่อให้ร่างกายและดวงตาได้พักบ้าง

5. Social Media ทำให้เราเสียเวลาชีวิต

โซเชียลมีเดียออกแบบมาให้ผู้ใช้งานเสพติดได้ง่าย (Addictive) หลายคนจึงใช้เวลามากกว่า 5-6 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นมือถือโดยไม่รู้ตัว การกำหนดเวลา Screen Time ของตัวเองในแต่ละวัน จะช่วยให้เราสามารถแบ่งเวลาไปจัดการ และโฟกัสเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น

6. Social Media ทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่เดียว

เพราะ Algorithm ของโซเชียลแพลตฟอร์มปัจจุบัน จะเน้นส่ง Content ที่ตรงกับความสนใจของเรา หรือแนะนำให้เราติดตามเพจ/คน ที่มีความสนใจคล้ายๆ กับเรา จนเราอาจเผลอคิดไปว่าโลกนี้เต็มไปด้วยคนที่มีความคิดเหมือนเรา ดังนั้นการเสพสื่อให้หลากหลาย และมากกว่าแค่ในโซเชียลมีเดียจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

7. Social Media ทำให้คนสามารถวิจารณ์ธุรกิจหรือสินค้าของเราในที่สาธารณะได้

ถือเป็นปัญหาใหญ่ทีเดียวสำหรับแบรนด์ และเจ้าของธุรกิจ เมื่อเจอลูกค้าที่โพสต์ความเห็นในแง่ลบบนพื้นที่โซเชียลแพลตฟอร์ม ซึ่งกลายเป็นประเด็นใหญ่ได้ในชั่วข้ามคืน 

mandala ai ฟรี

ปัจจุบันเรามี เครื่องมือ Social Listening และ Social Monitoring ที่เปิดให้ใช้งานฟรี ที่ช่วยให้การจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ลองใช้แล้วฝึกให้ชำนาญ จะเป็นผลดีกับแบรนด์หรือธุรกิจในยุคการตลาดโซเชียลแน่นอน แต่หากมองวิกฤตให้เป็นโอกาส การที่เราหมั่นสอดส่องความเห็นในแง่ลบ และช่วยลูกค้าแก้ปัญหาอย่างจริงใจ ก็ช่วยยกภาพลักษณ์ธุรกิจ และซื้อความไว้ใจกลับมาได้เช่นกัน

ใช้สื่อ Social Media อย่างมีสติ ต่อยอดการใช้ประโยชน์ในอนาคต

Social Media ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม หากเลือกใช้อย่างถูกวิธี ก็จะนำพาเราไปสู่โอกาสและความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่หากใช้ผิดวิธี ก็จะกลายเป็นบ่อนทำลายสุขภาพกายและใจของเราในระยะยาวได้เช่นกัน หวังว่าบทความของเราในวันนี้ จะช่วยให้หลายคนเข้าใจสื่อสังคมออนไลน์ และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Social Media Facebook Instagram Twitter(X) Tiktok Youtube ปี 2024 อัปเดตขนาดรูปภาพ

  วันนี้เราเอาข้อมูล ขนาดรูปภาพ มาอัปเดตให้กับนักการตลาดและชาวกราฟิกที่มีหน้าที่สร้างสรรค์รูปภาพ และคอนเทนต์ลงบนสื่อโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ทุกวัน ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์ม ก็มีขนาดรูปภาพที่เหมาะสมแตกต่างกันไป แถมยังมีการอัปเดตและเปลี่ยนแปลงขนาดตลอดทุกปี นักกราฟิกแบบเราก็ต้องค่อยอัปเดตข้อมูลอยู่ตลอดนั้นเอง

เพราะถ้ารูปภาพที่เราออกแบบไม่ตรงตามขนาดของแพลตฟอร์มนั้น ก็จะทำให้รูปภาพของเรารูปปรับหรือถูกตัดออกไปได้ ส่งผลทำให้ข้อมูลบางส่วนขาดหายไป เราคงไม่อยากให้มันเป็นแบบนั้นใช่ไหมคะ เพราะรูปภาพมีความสำคัญต่อการสื่อสารการตลาดอย่างมาก วันนี้การตลาดวันละตอน เลยรวบรวมข้อมูลขนาดรูปภาพ Social Media ยอมนิยมของปี 2024 มาให้ทุกคนแล้วค่ะ

  • รูปโปรไฟล์ : ขั้นต่ำ 196 x 196 Pixel
  • ภาพปก : แนะนำ 820 x 315 Pixel
  • โพสต์แนวนอน : 1200 x 628 Pixel
  • โพสต์จัตุรัส : 1080 x 1080 Pixel
  • โพสต์แนวตั้ง :  1200 x 628 Pixel
  • หน้าปกกิจกรรม: 1920 x 1005 Pixel
  • Stories : 1080 x 1920 Pixel
  • ภาพปกกลุ่ม : 1640 x 856 Pixel
  • ภาพขนาดย่อของวิดีโอ : จับคู่ขนาดวิดีโอ

Instagram โซเซียลยอดนิยมอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม ที่ปัจจุบัน Facebook ได้ซื้อเป็นที่เรียบร้อย โดยมีผู้ใช้จำนวนมากเช่นกัน จุดเด่นของ IG คือ มีรูปภาพสวย ๆ เก๋ ๆมากมาย ทั้งรูปดารา อาหาร เสื้อผ้า ร้านคาเฟ่ ฯลฯ และที่เราชอบคือสามารถใส่ฟิลเตอร์วิดีโอได้อีกด้วย

  • รูปโปรไฟล์ : 320 x 320 Pixel
  • โพสต์จัตุรัส : 1080 x 1080 Pixel
  • โพสต์แนวตั้ง : 1080 x 1350 Pixel
  • Stories : 1080 x 1920 Pixel
  • ไฮไลท์ : 320 x 320 Pixel

Youtube เป็นแหล่งรวมคลิปวิดีโอมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่อเดือน

  • รูปโปรไฟล์ : 98 x 98 Pixel
  • แบนเนอร์ช่อง : 2048 x 1152 Pixel
  • ภาพขนาดย่อของวิดีโอ: 1280 x 720 Pixel
  • ลายน้ำวิดีโอ : 150 x 150 Pixel
ขนาดรูปภาพ

TIKTOK แพลตฟอร์มที่มีวีดีโอสั้นมากที่สุด โดยจะมีวัยรุ่นใช้งานจำนวนมาก จุดเด่นคือ การสร้างวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 1 นาที โดยมีเอฟเฟคต่าง ๆ ทั้งภาพและเสียง ให้ผู้ใช้งานได้แต่งวิดีโอสร้างคอนเทนต์สนุก ๆ ให้เพื่อน ๆ ชม

  • รูปโปรไฟล์: 200 x 200 Pixel
  • รูปภาพ : 1080 x 1920 Pixel
  • วิดีโอ /Stories : 1080 x 1920 Pixel
  • อัตราส่วนวิดีโอโฆษณา: 1:1 หรือ 16:9

ขนาดรูปภาพ X TWITTER อัปเดต 2024

X หรือ TWITTER ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการคุยกับเพื่อนหรือคนอื่นที่สนใจในเรื่องเดียวกัน โดยสามารถพิมพ์ข้อความได้ไม่เกิน 280 ตัวอักษร

  • รูปโปรไฟล์ : 400 x 400 Pixel
  • ภาพปก : 1500 x 500 Pixel
  • โพสต์แนวนอน : 1200 x 675 Pixel
  • โพสต์จัตุรัส :  1080 x 1080 Pixel
  • โพสต์แนวตั้ง : 1080 x 1350 Pixel
  • การ์ด : 1200 x 628 Pixel
ขนาดรูปภาพ

LINKED IN แพลตฟอร์ม ที่จะช่วยคุณหางานที่ใช่ ทำความรู้จักกับบริษัทที่สนใจ จะเน้นไปในด้านของธุรกิจ อาชีพ และการสร้าง Profile ส่วนตัวของเพื่อน ๆ ที่จะให้บริษัทและผู้สมัครได้มาเจอกัน

  • รูปภาพโปรไฟล์ส่วนตัวหรือบริษัท: 400 x 400 Pixel
  • ภาพปกส่วนตัว: 1584 x 396 Pixel
  • ภาพปกบริษัท: 1128 x 191 Pixel
  • โพสต์จัตุรัส : 1200 x 1200 Pixel
  • โพสต์แนวตั้ง 1200 x 1500 Pixel
  • โพสต์แนวนอน1200 x 627 Pixel
  • ภาพปกบทความ: 1920 x 1080 Pixel
  • โลโก้กลุ่ม: 92 x 92 Pixel
  • ภาพปกกลุ่ม: 1776 x 444 Pixel
ขนาดรูปภาพ

Pinterest แพลตฟอร์ม ที่เราสามารถค้นหารูปภาพเพื่อมาเป็นแรงบันดาลใจได้ ที่มุ่งเน้นในการแบ่งปันรูปภาพ, GIF หรือวิดีโอ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใช้งาน โดย Pinterest สามารถเก็บภาพที่ชื่นชอบเอาไว้ได้

  • รูปโปรไฟล์: 165 x 165 Pixel
  • ภาพปกโปรไฟล์: 800 x 450 Pixel
  • พินรูปภาพ: 1000 x 1500 Pixel
  • พินแบบหมุน: 1000 x 1000 Pixel หรือ 1000 x 1500 Pixel
  • Stories: 1080 x 1920 Pixel

Google Business Profile แพลตฟอร์มที่จะให้เพื่อน ๆ สามารถแชร์รูปภาพกับข้อมูลให้ลูกค้าได้ สามารถอัปโหลดรูปภาพธุรกิจหรือสินค้า ระบุที่ตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทได้

  • รูปโปรไฟล์ : 720 x 720 Pixel ; ขั้นต่ำ 250 x 250 Pixel
  • ภาพปก : 1080 x 608 Pixel ; ขั้นต่ำ 250 x 250 Pixel
  • รูปถ่าย : 720 x 720 Pixel ; ขั้นต่ำ 250 x 250 Pixel
  • ขนาด VDO : 1280 x 720 Pixel

สรุป

ปัจจุบันมี Social Media มากมายหลากหลาย ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มนั้นมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน เฉพาะตัว มีรูปแบบการโพสต์รูปภาพหรือคอนเทนต์ที่แตกต่างกันชัดเจน ตัวแพลตฟอร์มจึงมีแจ้งขนาดรูปภาพที่เหมาะสมในการใช้งาน เพื่อนักออกแบบและนักการตลาดแบบพวกเรา จะได้สร้างสรรค์รูปภาพโฆษณาออกมาให้เหมาะสมและสามารถสื่อสารออกไปได้อย่างสมบูรณ์ ในแพลตฟอร์มนั้น

ดังนั้นการทำภาพให้พอดีกับขนาดและความละเอียดที่แพลตฟอร์มได้กำหนดมา นั้นเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่ง ที่จะทำภาพเพื่อสื่อสารผู้บริโภคได้อย่างดีที่สุด เพราะถ้าทำขนาดมาไม่พอดีกับแพลตฟอร์มนั้นอาจส่งผลให้รูปภาพถูกตัด บิดเบี้ยว เนื้อหาและข้อมูลไม่สมบูรณ์

ซึ่งในแต่ในแพลตฟอร์ม มีการอัปเดตและเปลี่ยนแปลงขนาดรูปภาพทุกปี หวังว่าปีนี้หลังจากอ่านบทความนี้จบเพื่อน ๆจะนำข้อมูลเรื่องขนาดรูปภาพในปี 2024 นี้ไปใช้ออกแบบให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์มของเพื่อน ๆ กันนะคะ แล้วปีหน้าเราจะมาแชร์ข้อมูลให้ใหม่ค่า