วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ บริเวณถนนราชดำเนินกลาง-ท้องสนาม ฉลองประเพณีสงกรานต์คว้ามรดกยูเนสโก ชูไฮไลต์อัตลักษณ์สงกรานต์ 5 ภาค


รัฐบาลฉลองประเพณีสงกรานต์คว้ามรดกยูเนสโก จัดใหญ่
มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 11-15 เม.ย. 67 บริเวณถนนราชดำเนินกลาง-ท้องสนามหลวง ชูไฮไลต์อัตลักษณ์สงกรานต์ 5 ภาค และขบวนแห่-รถพาเหรด ชวนตื่นตากว่า 20 ขบวน
คาดเงินสะพัดกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท

รัฐบาล โดย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมฉลองในโอกาสที่ “ประเพณีสงกรานต์” ของประเทศไทยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) โดยมีกำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1-21 เมษายน 2567

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

สำหรับหนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงานสงกรานต์ปีนี้ก็คือ งาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (Maha Songkran World Water Festival 2024) ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2567 ณ บริเวณถนนราชดำเนินกลางและพื้นที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ จะนำเสนอภาพลักษณ์ความสวยงามของประเพณีสงกรานต์ไทย ด้วยขบวนรถพาเหรดมหาสงกรานต์กว่า 20 ขบวน อาทิ ขบวนรถพระพุทธรูป ขบวนรถเทพีสงกรานต์ ประจำปี 2567 “มโหธรเทวี” เสด็จไสยาสน์ลืมเนตรเหนือหลังนกยูง ขบวนรถพาเหรด 16 จังหวัด พร้อมด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากนักแสดงและผู้ร่วมขบวนแห่กว่าพันคน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมนำเสนอศิลปวัฒนธรรมไทย อัตลักษณ์ประเพณีสงกรานต์ 5 ภูมิภาค และ Soft Power ไทย บริเวณท้องสนามหลวง

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

ทั้ังนี้ไฮไลต์บางส่วนของขบวนแห่ที่ถูกนำเสนอเป็นตัวอย่างในงานแถลงข่าวเปิดตัว “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ได้แก่ 6 ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญประจำภาคเข้าร่วมพิธีสรงน้ำพระ มีดังนี้

-ขบวนที่ 1 มหาสงกรานต์นฤมิต แต่งขบวนรูปแบบราชสำนักสยามบอกเล่าเรื่องราวนางสงกรานต์ในปี 2567 นางมโหธรเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว มาเหนือหลังมยุรา (นกยูง) พร้อมด้วยกลุ่มเทวดานางฟ้า

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

-ขบวนที่ 2 วิจิตรปี๋ใหม่เมืองล้านนา (ภาคเหนือ) นำขบวนโดย นางสงกรานต์ภาคเหนือ หนุ่มสาวถือเครื่องสักการะ ตุงไส้หมูและตุงนักษัตร และกลุ่มฟ้อนขันดอก

-ขบวนที่ 3 ตระการตากรุงศรีสยาม (ภาคกลาง) บอกเล่าความวิจิตร ประณีต วัฒนธรรมและประเพณี กลุ่มกลองยาว หนุ่มสาวถือขันน้ำ พวงมาลัยคล้อง พร้อมหัวโตเล็ก หัวโตใหญ่

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

-ขบวนที่ 4 งดงามอีสานวดี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) แห่เสลี่ยงต้นดอกไม้ ธุงใยแมงมุม แสดงความสวยงาม วัฒนธรรมประเพณี ความศรัทธาของคนอีสาน เสริมความสนุกสนานด้วยกลุ่มเซิ้งสาวอีสาน ผู้บ่าวกั๊บแก๊บ

-ขบวนที่ 5 ทักษิณราศี แห่นางดาน (ภาคใต้) นำเสนอมหาสงกรานต์แห่นางดานของภาคใต้และรำเสนง พราหมณ์ พร้อมขบวนแห่พระจันทร์พระอาทิตย์ พระแม่ธรณีและพระแม่คงคา

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

-ขบวนที่ 6 คัลเลอร์ฟูลบูรพาวิถี (ภาคตะวันออก) นำเสนอความเชื่อ ความศรัทธา สงกรานต์ภาคตะวันออก สร้างสีสันด้วยตุงตะขาบ เสลี่ยงเจดีย์ทราย และแตรวง

รมต.ก.ท่องเที่ยว ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า และเพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตในโอกาสเถลิงศกใหม่ไทย ททท. ยังได้จัดทำโครงการ “72 ศรัทธานำทาง เส้นทางนำเที่ยว” นำเสนอ 72 เส้นทางแห่งศรัทธาเพื่อเสริมสิริมงคล สร้างความรุ่งเรืองแห่งชีวิต โดยเชื่อมโยงชุมชนที่มีศักยภาพและแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ จำนวน 72 เส้นทางทั่วประเทศใน 5 ภูมิภาค โดยแบ่งเป็นประเภทเส้นทางไหว้พระธาตุ เส้นทางตามรอยพระเถราจารย์ และเส้นทางขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เพื่อให้คนไทยได้ออกเดินทางสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงกรานต์วันปีใหม่ไทย พร้อมแนะนำร้านอาหารอร่อยในบริเวณใกล้เคียงให้ได้ลิ้มลองอีกด้วย

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

ด้าน นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ในปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรมขอเชิญชวนคนไทยเข้าร่วมกิจกรรมสงกรานต์ในกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สมุทรปราการ ชลบุรี และภูเก็ต รวมถึงท่องเที่ยวไหว้พระเสริมสิริมงคลในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรม 4 แห่ง ได้แก่ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชร นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมเยือน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

ขณะที่นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองในช่วงสงกรานต์นี้ยังมีความสำคัญอีกประการ ด้วยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ให้ในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี เป็น “วันครอบครัว” เนื่องจากครอบครัว คือ สถาบันมูลฐานของมนุษยชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็นสถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา สงกรานต์ปีนี้จึงอยากเชิญชวนประชาชนชาวไทยให้ความสำคัญกับครอบครัวมากขึ้น พบปะรวมญาติ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ตลอดจนรดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่ตามประเพณีไทย หรืออาจจะมีการพาครอบครัวเดินทางไปท่องเที่ยวทำบุญไหว้พระรับสิริมงคล ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยขอให้เดินทางอย่างปลอดภัย ด้วยความมีสติและไม่ประมาท

ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
ตัวอย่างขบวนแห่ในงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

ทั้งนี้การจัดงานประเพณีสงกรานต์เถลิงศกใหม่ไทยที่จะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ ตลอด 21 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 – 21 เมษายน 2567 ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่า จะทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศประมาณ 15.03 ล้านคน-ครั้ง และคาดว่าจะส่งผลให้เกิดรายได้ทางการท่องเที่ยว 52,500 ล้านบาท

บรรยากาศการแถลงข่าวงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (ภาพ : เพจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

https://mgronline.com/travel/detail/9670000028968

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น